เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต
รูป คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต
รูป คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต Sony Nextep คอมพิวเตอร์แห่งปี 2020
คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต Sony Nextep คอมพิวเตอร์แห่งปี 2020 คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต ปี2020 เตรียมเสียเงินกันอีกแล้วสำหรับคอ ไอที ทั้งหลายเมื่อ Sony ได้คิดค้น คอมพิวเตอร์ แห่งอนาคต Sony Nextep Computer มีลักษณะเป็น คอมพิวเตอร์ข้อมือ มีคอมพิวเตอร์ เป็นโครงสร้างที่ยืดหยุ่นด้วยหน้าจอ OLED Touchscreen มีเทคโนโลยี Holographic Projector, Pull-Out Extra Keyboard และที่สำคัญมันจะอยู่บนข้อมือของคุณด้วย เจ๋งไหมละคราวนี้ก็ไม่ต้องแบก โน๊ตบุ๊ค ให้เมื่อยกันอีกแล้ว
MacBook 2020 เผยแรงบันดาลใจกับสุดยอดเทคโนโลยีสุดล้ำแห่งอนาคต
ป็นที่ทราบกันดีกว่า MacBook นั้นเป็น Laptop ในฝันของหลายๆ คนและแม้แต่งแบรนด์ดังยี่ห้อต่างๆ นั้นต่างเดินตามรอย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ MacBook ถูกยกระดับให้เป็นสินค้าระดับบน ราคาแพง มีการออกแบบที่ละเอียดปราณีตลงตัว ผลิตด้วยวัสดุคุณภาพสูงอีกทั้งยังทำงานบนระบบปฏิบัติการยอดนิยมทางฟากของ Mac อย่าง OS X อีกด้วย
แม้ว่า MacBook จากค่าย Apple ในวันนี้จะมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้วแต่การพัฒนาย่อมต้องกำเนินต่อไป และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียนคุณ Tommaso Gecchelinได้ออกแบบแมคบุ๊คในปี 2020 ออกมาให้เราได้ดูกัน โดยเผยถึงความล้ำสมัยและความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ โดย MacBook 2020 จะมีรูปแบบดีไซนใหม่หมดจดทำงานได้แบบ 3D Hologram ถ้าพูดอย่างเดียวคงไม่เห็นภาพ งั้นไปดูภาพกราฟฟิกที่ถูกออกแบบไว้กันเลยดีว่าครับว่าจะสวยถุกใจขนาดไหน
ไอเดียรถยนต์สปอร์ต 3 ล้อ แห่งปี 2020 จาก Peugeot Velocite
สามารถดูรูปไอเดียรถยนต์แห่งอนาคตจาก Peugeot Velocite เพิ่มเติมด้านล่างครับ…
เทคโนโลยีแห่งอนาคต ขับเคลื่อนสังคมโลกยุคใหม่!
ยักษ์สีฟ้า "ไอบีเอ็ม" บริษัทคอมพิวเตอร์และไอทีระดับโลก เผยรายงานคาดการณ์การใช้เทคโนโลยียุคใหม่พัฒนาสังคมโลกในแง่มุมต่าง ๆ ในอนาคตอีก 5 ปีนับจากนี้ ทั้งด้านพลังงาน การคมนาคม โครงสร้างสาธารณูปโภค งานวิศวกรรม รวมทั้งการปกป้องคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน และรับมือภัยธรรมชาติ!
สู่ยุค "รถ" ไม่ง้อก๊าซ-น้ำมัน
ภายใน 2 ทศวรรษข้างหน้า มีการคาดการณ์ว่าจะมีรถยนต์บนท้องถนนทั่วโลกมากกว่า 2,000 ล้านคัน ในขณะเดียวกัน รถยนต์รุ่นประหยัดพลังงานและรถยนต์ที่ใช้พลังงานลูกผสม หรือ "ไฮบริด" ก็จะมีใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่รองรับระบบขนส่งมวลชนที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ก็จะมีการพัฒนาอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการใช้พลังงานอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่ารถยนต์-รถประจำทางจะไม่ต้องพึ่งพาการใช้พลังงานจากน้ำมันและก๊าซอีกต่อไป
เหตุเพราะรถยนต์อนาคตจะใช้พลังงานจาก "แบตเตอรี่" ชนิดใหม่ ซึ่งรองรับการใช้งานได้นานหลายวันหรือหลายเดือน ก่อนที่จะมีการชาร์จไฟอีกครั้ง ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับรถว่าใช้งานบ่อยแค่ไหน
ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังออกแบบแบตเตอรี่ชนิดใหม่ ที่ทำให้รถยนต์วิ่งได้ไกลถึง 400-800 กิโลเมตรต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่วิ่งได้แค่ 80-160 กิโลเมตร
โครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ตามเมืองใหญ่จะช่วยให้รถยนต์สามารถชาร์จไฟในที่สาธารณะ และแม้กระทั่งใช้ "พลังงานทางเลือก" ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น พลังงานลม เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ โดยไม่ต้องพึ่งพาโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากถ่านหินอีกต่อไป
วิธีนี้ จะช่วยให้แต่ละเมืองสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ควบคู่ไปกับการลดมลภาวะทางเสียง เพราะเครื่องยนต์ไฟฟ้าเดินเงียบมาก
แบตเตอรี่แรงสูง
นักวิทยาศาสตร์ไอบีเอ็มและองค์กรพันธมิตร กำลังทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงแบตเตอรี่ให้ดีขึ้น โดยเน้นหนักที่เทคโนโลยี "ลิเธียมแอร์" (Lithium Air) เพื่อให้แบตเตอรี่ที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์และรถประจำทาง สามารถเพิ่มความหนาแน่นของพลังงานได้มากถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ลิเธียมไออ้อน ซึ่งใช้ในรถไฟฟ้าและรถไฮบริดในปัจจุบัน
เนื่องจากแบตเตอรี่รุ่นใหม่นี้จะมีน้ำหนักเบากว่า ปลอดภัยกว่า และราคาถูกกว่า ดังนั้น จึงอาจเห็น "รถยนต์ไฟฟ้าแบบ 4 ที่นั่ง" สามารถวิ่งได้หลายร้อยกิโลเมตรต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง และแทนที่จะต้องเติมน้ำมันที่ปั๊มน้ำมัน รถยนต์เหล่านี้ จะสามารถชาร์จไฟที่บ้านโดยใช้เต้าเสียบปลั๊กไฟรุ่นใหม่
ความพยายามต่อเรื่องดังกล่าวต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของ ไอบีเอ็มและองค์กรพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านวัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี เคมีสีเขียว (Green Chemistry) และ ซูเปอร์คอมพิวติ้ง เป็นต้น
"พลังงานทางเลือก" ขับเคลื่อนรถ
จะเริ่มมีการใช้พลังงานทางเลือกอื่น ๆ เช่น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์และรถประจำทางแทนการใช้ก๊าซ
นั่นหมายถึง รถยนต์ทุกคันภายในเมือง ตั้งแต่รถประจำทางไปจนถึงรถเก็บขยะ สามารถใช้ "เชื้อเพลิง" จากพลังงานส่วนเกินที่ได้มาจากแผงโซลาร์เซลล์ หรือพลังงานลม
ทุกวันนี้ ไอบีเอ็มและทีมงานสถาบันวิจัยเอดิสัน ประเทศเดนมาร์ก กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ เพื่อรองรับการใช้รถไฟฟ้าจำนวนมาก
ปัจจุบัน ในเกาะบอร์นโฮล์ม (Bornholm) ของประเทศเดนมาร์ก มีการใช้งานพลังงานลม ด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่ใช้พลังงานลมเป็นส่วนใหญ่ โดยทีมงานได้สร้างระบบทดสอบ เพื่อศึกษาว่าระบบพลังงานดังกล่าวจะทำงานอย่างไรเมื่อรถไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนั้น นักวิจัยจากไอบีเอ็มเดนมาร์ก และจากศูนย์วิจัยของไอบีเอ็มที่เมืองซูริก กำลังประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีอัจฉริยะ ที่เชื่อมโยงการชาร์จไฟสำหรับรถไฟฟ้าเข้ากับส่วนของพลังงานลมภายในโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าเช่นเดียวกัน
"อาคาร" มีชีวิต
ด้วยจำนวนผู้คนที่เข้าพักอาศัยและทำงานตามอาคารสูง ๆ ในเมืองใหญ่เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ การสร้างและพัฒนาระบบให้กับอาคารต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นด้วยแนวคิดที่ชาญฉลาด
ปัจจุบันระบบต่าง ๆ ที่อยู่ภายในตัวอาคาร เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบประปา ระบบท่อระบายน้ำ ระบบไฟฟ้า ฯลฯ ต่างทำงานแยกส่วนจากกัน นอกเหนือจากนั้นในแต่ละปี อาคารเหล่านี้ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกสู่บรรยากาศมากกว่ารถยนต์เสียอีก
ในอนาคต ระบบต่าง ๆ ภายในอาคารจะทำงานเชื่อมโยงประสานกันแบบ "รวมศูนย์"เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ บ้าน คลังสินค้า และโรง งานทุกประเภท จะทำงานได้ราวกับเป็นสิ่งมีชีวิต ที่สามารถรับรู้และตอบสนองมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อปกป้องผู้คนที่พักอาศัยหรือทำงานภายในอาคารให้มีความปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยประหยัดทรัพยากร และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย
อาคารเก่าจะได้รับการบูรณะปรับปรุง ส่วนอาคารสมัยใหม่จะได้รับการพัฒนา ด้วยระบบประหยัดพลังงานที่เชื่อมโยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำงานเชื่อมโยงร่วมกันได้อย่างชาญฉลาด
ทุกสิ่งภายในอาคาร ตั้งแต่เรื่องอุณหภูมิ ไฟฟ้า การระบายอากาศ ไปจนถึงการจัดการระบบน้ำ การจัดการขยะ ระบบโทรคมนาคม และระบบรักษาความปลอดภัย จะมีการผนวกรวมเข้าด้วยกัน เพื่อการบริหารจัดการและควบคุมที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
"ระบบอัจฉริยะ" ภายในอาคารจะช่วยเตือนให้การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำได้ก่อนที่จะเกิดการชำรุดเสียหาย และยังช่วยให้หน่วยฉุกเฉินสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างฉับไว อีกทั้งเจ้าของและผู้ใช้งานภายในอาคาร ยังสามารถตรวจสอบระดับการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนของอาคารได้ในแบบเรียลไทม์
"เซ็นเซอร์" หลายพันตัวภายในอาคารจะควบคุมตรวจสอบทุกสิ่งภายในอาคาร ตั้งแต่ความเคลื่อนไหวและอุณหภูมิ ไปจนถึงความชื้น การเข้าใช้พื้นที่ และแสงสว่าง
อาคารต่าง ๆ ไม่ได้เพียงอยู่ร่วมและทำงานเกี่ยวโยงกับธรรมชาติ แต่จะใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเหมาะสมอีกด้วย
สุดยอดเทคโนฯ รับมือภัยคุกคาม
ภายใน 5 ปีข้างหน้า เมืองต่าง ๆ จะสามารถป้องกันอาชญากรรมและภัยพิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ด้วยประโยชน์จาก "เทคโนโลยีขั้นสูง" ที่ใช้ในการตรวจจับและคาดการณ์ เกี่ยวกับภัยคุกคามและเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น
ปัจจุบัน กรมตำรวจประจำเมืองเอ็ดมอนตัน ประเทศแคนาดา ใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจของไอบีเอ็ม เพื่อช่วยลดจำนวนอาชญากรรม เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และความปลอดภัยให้แก่ประชาชน
ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด หน่วยงานดังกล่าวใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อดูข้อมูลที่ใกล้เคียงเวลาจริง (เรียลไทม์) และส่งข้อมูลเรื่องอาชญากรรมให้แก่ตำรวจที่กำลังออกตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยโดยตรง หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อระบุปัญหา แนวโน้มที่เกี่ยวข้อง และสถานที่เกิดอาชญากรรม เพื่อหาวิธีรับมือและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ หน่วยงานดังกล่าวยังสามารถประเมินผลและตรวจสอบระยะเวลาในการตอบสนองเมื่อได้รับการแจ้งเหตุ เช่น ความล่าช้าในการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปยังสถานที่เกิดเหตุ และระยะเวลา เดินทาง เพื่อระบุปัญหาที่มีผลกระทบต่อเวลาที่ใช้การตอบสนองโดยรวม
โซลูชั่นการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยอาศัยการคาดการณ์ล่วงหน้า (Predictive Policing) เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรม ได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เพราะเป็นแนวทางใหม่ ที่จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่หน่วยลาดตระเวนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลประวัติที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น การกระทำความผิด การจับกุม และบันทึกการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย เพื่อระบุแบบแผนและอัตราการเกิดอาชญากรรมได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็วนี้เอง ช่วยให้ตำรวจสามารถทำงานได้ชาญฉลาดมากขึ้น และตัดสินใจได้อย่างทันท่วงทีเพื่อรับมืออาชญากรรมทุกรูปแบบ
"ดับเพลิง" ไฮเทค
หน่วยดับเพลิงแห่งนครนิวยอร์ก (FDNY) ได้ไว้วางใจให้ไอบีเอ็ม ช่วยพัฒนาระบบที่ทันสมัยสำหรับการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลร่วมกันในแบบเรียลไทม์ เพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ และคุ้มครองเจ้าหน้าที่ดับเพลิง รวมถึงเจ้าหน้าที่หน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยอื่นๆ เมื่อมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น
ระบบวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบอาคาร ของ FDNY จะใช้เทคโนโลยี "บิสซิเนส อินเทลลิเจนซ์" ประกอบกับการสร้าง "แบบจำลองการคาดการณ์" และระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง เพื่อคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับความเสี่ยงของ "อัคคีภัย" และช่วยวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงกระบวนการที่ช่วยลดความเสี่ยง เช่น การเก็บรวบรวมและการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร ใบอนุญาต และการทำผิดกฎหมายในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
โครงการนี้ ช่วยปรับปรุงการติดต่อสื่อสาร การใช้ข้อมูลร่วมกัน และการประสานงานเกี่ยวกับการตรวจสอบเพลิงไหม้ และข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร/สถานที่เกิดเหตุ ภายในแผนกต่างๆ ของ FDNY รวมทั้งระหว่าง FDNY กับหน่วยงานอื่นๆ ในนครนิวยอร์ก เช่น หน่วยงานโยธา หน่วยงานผังเมือง หน่วยงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
ระบบควบคุม "อุทกภัย" อัจฉริยะ
ความเสียหายจากภัยน้ำท่วมใหญ่ หรืออุทกภัย อาจกลายเป็นอดีต เพราะเมืองต่าง ๆ ในอนาคตจะพัฒนาระบบตรวจสอบและแจ้งเตือนเกี่ยวกับ "เขื่อน" เพื่อกันน้ำท่วม ซึ่งครอบคลุมระบบที่ทำงานระยะไกลในแบบเรียลไทม์ เช่น "เซ็นเซอร์อัจฉริยะ" จะถูกติดตั้งบนเขื่อนกันน้ำท่วมตลอดแนวชายฝั่งและแม่น้ำลำคลอง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยในการคาดการณ์และป้องกันก่อนที่อุทกภัยจะเกิดขึ้น
กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลและที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีความเสี่ยงสูงที่จะประสบเหตุอุทกภัยมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภายใน เนื่องจากระดับ "น้ำทะเล" ที่เพิ่มสูงขึ้นและสภาพภูมิอากาศแปรปรวน
ทั้งนี้ ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และจีน ในปัจจุบัน ต้องรับมือกับภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นจากคลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surge), น้ำล้นตลิ่ง และช่วงเวลาที่มีฝนตกหนัก
"ศูนย์จัดการน้ำระดับโลก" ซึ่งตั้งอยู่ที่นครอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ กำลังบุกเบิกการใช้เซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบสภาวะของ "เขื่อนกันน้ำท่วม" ในแบบเรียลไทม์ ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการดำเนินโครงการในลักษณะดังกล่าว
ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ในโครงการดังกล่าวทดลอง "พังเขื่อน กันน้ำ" ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดเพื่อวัดค่าในด้านต่าง ๆ ถึง 32 ล้านรายการ
กิจกรรมดังกล่าวทำขึ้นโดยครอบคลุมการวัดแรงดันน้ำ อุณหภูมิ และความเคลื่อนไหว และช่วยเพิ่มความสามารถในการคาดการณ์ว่า เขื่อนกันน้ำท่วมจะสามารถรับแรงดันได้มากเท่าใดก่อนที่จะพังทลาย ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากการทดลองดังกล่าว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดหรือป้องกันความเสียหายจากเหตุอุทกภัยในอนาคตได้
รถยนต์ไฮโดรเจน คันแรกของไทย วิ่งฉิวโดยไม่ง้อน้ำมัน (เดลินิวส์)
ขณะที่ทุกๆ ประเทศ ทั่วโลกกำลังคิดค้นพลังงานทดแทนอย่างขะมักเขม้น ด้านประเทศไทยของเราก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนต่างระดมความคิดในการหาทางออกเพื่ออนาคต . . .
และแล้วความพยายามก็เป็นผล เมื่อคนไทยสามารถ ผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจนได้เป็นผลสำเร็จ โดยมี พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ เป็นหัวหน้าทีมโครงการวิจัยและพัฒนารถยนต์พลังงานไฮโดร เจนที่แยกจากน้ำ และทีมวิจัยอีก 14 ชีวิต ภายใต้ บริษัท คลีนฟูเอล เอ็นเนอร์ยี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
อวดสายตาผู้คนไปเมื่อวันก่อนที่ทำเนียบ ก่อนการประชุม ครม. โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ความสนใจ และทดลองขับรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงคันแรก ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยขนาด 4 ที่นั่ง ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สร้างความฮือฮาได้ไม่น้อย
เส้นทางของรถยนต์คันนี้มีความเป็นมาอย่างไร หัวหน้าทีมวิจัยวัย 75 ปี แต่ยังมีไฟอยู่ เล่าให้ฟังว่า ใช้เวลาในการคิดค้นกว่า 7 ปี ตั้งแต่สมัยที่น้ำมันเริ่มมีราคาสูงขึ้น จากการศึกษาเทคโนโลยีของต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ อย่างประเทศแคนาดา มีการทดลองในรูปแบบต่างๆ และสะสมความรู้เอาไว้ รวมทั้ง มีทีมงานที่ทุ่มเทตั้งใจทำงานกันทุกคน จนมาเริ่มลงมือทำอย่างจริงจังหลังจากที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ความสนใจและให้งบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ จำนวน 14 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา
หัวใจในการขับเคลื่อนของรถยนต์ไฮโดรเจนอยู่ที่ เซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งประกอบไปด้วยแผ่นเยื่อบางๆ ใสๆ เหมือนแผ่นกันแสงคล้ายฟิล์มในรถยนต์ เรียกว่า MEA ที่ย่อมาจาก Membrane Electrode Assembly เรียกเป็นภาษาไทยว่า เยื่อแลกเปลี่ยนโปรตรอน โดยทั้ง 2 ด้านของ MEA จะประกอบด้วยแผ่นไบโพลา (Bipola Plate) ที่ทำจากแกร์ไฟต์ ประกอบเรียงกันเป็นเซลล์เชื้อเพลิง 1 สแตค (Stack) โดยแผ่นไบโพลา จะทำหน้าที่ส่งไฮโดรเจนเพื่อเข้า ไปแยกที่ MEA ให้เป็นไฟฟ้าไปยังมอเตอร์ และทำหน้าที่รวมกับออกซิเจนทำให้เกิดเป็นน้ำออกมา
"เมื่อไฮโดรเจนผ่านเข้ามาจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นโดยอาศัยแผ่นไบโพลาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดอิเล็ก ตรอนอิสระที่เป็นกระแสไฟฟ้าเคลื่อนผ่านตัวนำไฟฟ้าส่งไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ และเมื่ออิเล็กตรอนไหลวน ครบวงจรจะกลับมารวมกับไฮโดรเจนประจุบวกและออกซิเจนที่อยู่ในอากาศเกิดเป็นน้ำออกมา ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่เกิดมลพิษและก่อให้เกิดเสียงดังของเครื่องยนต์แต่อย่างใด"
พล.อ.ท.มรกต กล่าวถึงประสิทธิภาพของรถให้ฟังว่า มีการติดตั้งมอเตอร์ให้ขับเคลื่อนเพลาล้อแทนเครื่องยนต์ โดยใช้กระแสไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 8 กิโลวัตต์ ที่ติดตั้งอยู่ ส่วนหน้ารถ ลักษณะตัวรถขึ้นรูปจากโครงเหล็ก และตัวถังหุ้มด้วยไฟเบอร์กลาส มีที่นั่งเป็นเบาะหนัง
"โดยรถจะใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 4 กิโลวัตต์ จึงมีกระแสไฟฟ้าเหลือพอที่จะนำไปใช้กับระบบทำความเย็น และเครื่องเสียงภายในรถอีกด้วย และบรรจุไฮโดรเจน 900 ลิตร น้ำหนัก 70 กรัม ใส่ถังไว้ด้านหลังของตัวรถ สามารถวิ่งได้ระยะทาง 40 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 20-30 นาที จะต้องมีการเติมไฮโดรเจนใหม่อีกครั้ง ซึ่งการขับเคลื่อนของรถไฮโดรเจนจะวิ่งเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับพลังงานของมอเตอร์ที่ใส่เข้าไป สำหรับรถไฮโดรเจนคันนี้จะมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 4 ปี เพราะเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตรอนจะเสื่อมต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ แต่แผ่นไบโพลายังใช้ได้อยู่"
ด้านแหล่งที่มาของไฮโดรเจนนั้น เฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งมีโรงงานทำแก้ว โรงงานเม็ดพลาสติก โรงงานแยกแก๊ส มีการปล่อยไฮโดรเจนรวมกันแล้วชั่วโมงละประมาณ 20 ตัน ทิ้งไปในอากาศ ไม่มีการนำมาใช้หรือถ้ามีก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสามารถนำมากักเก็บไว้ใช้กับรถไฮโดรเจนได้อย่างน้อยกว่าแสนคัน
รถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้ ทำให้ไทยเป็นประเทศที่ 6 ของโลก ที่สามารถผลิตออกมาใช้งานได้จริงบนท้องถนน หลังจากที่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน ผลิตสำเร็จมาแล้ว
"หากมีการนำมาใช้ในรถยนต์ทั่วไปเพื่อขับเคลื่อนบนท้องถนน จำเป็นต้องมีการติดตั้งตัวถังไฮโดรเจนให้บรรจุก๊าซไฮโดรเจนได้มากขึ้น สำหรับป้อนเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนเป็นพลังงานไฟฟ้าในระยะทางที่ไกลขึ้น ยอมรับว่ารถยนต์ไฮโดรเจนคันนี้มีต้นทุนการผลิตรวมแล้วประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง แต่หากในอนาคตภาครัฐมีการสนับสนุนให้เป็นพลังงานทางเลือกที่ต้องศึกษาพัฒนาต่อไป เชื่อว่าต้นทุนการผลิตจะลดลงได้"
หลังจากที่ผลิตรถยนต์ไฮโดรเจน ขนาด 4 ที่นั่ง ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว มีการต่อยอดเพิ่มขึ้น โดย นายประสิทธิ์ โพธสุธน ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมวุฒิสภา มีข้อสรุปว่า รถยนต์ไฮโดรเจนยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ และต้นทุนยังแพงอยู่ จึงมีแนวคิดในการสร้างเป็นรถประจำทางหรือรถเมล์สาธารณะ ขนาด 20 ที่นั่ง ขึ้นไป เพื่อให้บริการประชาชนน่าจะดีกว่า จึงมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคมขึ้น โดยมี ดร.นิลวรรณ เพชระบูรณิน เป็นประธาน และได้งบประมาณในการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 20 ล้านบาท
"ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการผลิตเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 11 กิโลวัตต์ เพื่อนำมาใช้กับรถประจำทาง ขนาด 20 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน โดยใช้คันละ 3 สแตค มีต้นทุนสแตคละประมาณ 3 ล้านบาท ฉะนั้นต้นทุนของรถอยู่ที่เกือบ 10 ล้านบาท ราคานี้เป็นของเทคโนโลยีใหม่ที่ต้นทุนยังสูงอยู่ แต่เมื่อไหร่ที่มีเทคโนโลยีมารองรับมากกว่านี้ราคาแผงเซลล์เชื้อเพลิงอาจลดลงอยู่ที่ราคาประมาณล้านกว่าบาทต่อคัน ด้านตัวรถต้นทุนอยู่ที่ 1 ล้านบาท จึงถือว่ารถเมล์ 1 คัน ตกอยู่ที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เมื่อติดตั้งไฮโดรเจนด้านบนของตัวรถจะอยู่ที่ราคา 5 ล้านบาท ซึ่งราคารถเมล์ที่ใช้กันอยู่นี้ก็ อยู่ที่ราคาประมาณนี้ แต่ก่อมลพิษและเสียงดัง ถ้าน้ำมันขึ้นก็เก็บค่าโดยสารเพิ่มอีก แต่รถเมล์ไฮโดรเจนไม่ส่งผลกระทบ ดังกล่าว"
รถเมล์ไฮโดรเจนจะแตกต่างจากรถเมล์ทั่วไปคือ มี 6 ล้อ ด้านละ 3 ล้อ มี 2 เพลา เพลาละ 8 กิโลวัตต์ รวมเป็น 16 กิโลวัตต์ เพื่อให้ขับได้แรงขึ้น เร็วขึ้น และมีสมรรถนะสูงขึ้น วิ่งด้วยความเร็ว 60 กม.ต่อชั่วโมง ที่เลือกรถขนาด 20 ที่นั่ง เพราะต้องการให้เกิดการคล่องตัวในการใช้งาน หากโครงการผ่านการพิจารณางบประมาณ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน ในการปรับปรุงให้สมบูรณ์ ออกใช้งานได้จริง เพราะตัวรถเมล์ไม่ได้มีส่วนประกอบที่ซับซ้อนแต่อย่างใด
ส่วนด้านสถานีเติมไฮโดรเจน และเรื่องกฎหมายรองรับการผลิต รวมทั้งการนำมาใช้งานจริงบนท้องถนน คงเป็นเรื่องที่ทางรัฐบาลต้องพิจารณาเป็นขั้นตอนต่อไป
พล.อ.ท.มรกต ฝากความหวังไว้ว่า "เมื่อทำเป็นรถเมล์ไฮโดรเจนออกมาได้แล้ว ใช้งานได้จริง อยากให้รถต้นแบบทุกคัน ถูกเผยแพร่วิทยาการในส่วนนี้ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีความสนใจ เพื่อจะได้ต่อยอดในส่วนต่างๆ ต่อไป เพื่อให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนาให้ดีขึ้น ราคาต้นทุนจะได้ถูกลง โดยอยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุนจะได้เป็นความรู้ที่มีการต่อยอดกันต่อไปในเชิงพาณิชย์ และที่สำคัญเป็นการสร้างงานให้กับคนไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย"
ผลงานชิ้นโบแดงนี้ ช่วยสร้างศักยภาพให้กับประเทศ และคนไทยไปแล้วในสายตาของชาวโลก คงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากขาดการสนับสนุนในเชิงสร้างสรรค์ และจริงใจ!
|
| ||||
|